เมื่อครั้งงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หลายคนอาจจะเคยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับไม้มงคลหลาย ๆ ชนิดที่นำมาใช้ในงานพระราชพิธี และหนึ่งในนั้นก็มีชื่อของ “ไม้จันทน์หอม” อยู่ด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าไม้ชนิดนี้มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากต่อวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อของคนไทย ดังนั้น เราจึงจะขอมาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับไม้มงคลสูงค่าชนิดนี้ให้ดียิ่งขึ้น
ไม้จันทน์หอม ยื่นต้นแกร่งและโชยกลิ่นอ่อน ๆ

ไม้จันทน์หอม จัดว่าเป็นพรรณไม้ที่มีขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ประเภทยืนต้นผลัดใบที่มีอายุยืน โดยจะอยู่ได้เป็น 100 ปี ตัวลำต้นนั้นจะตรง เปลือกจะเป็นสีเทาอมขาวบ้าง หรือสีเทาอมน้ำตาลบ้าง ถ้าถากเปลือกเข้าไปด้านใน จะเห็นเนื้อไม้สีขาวมีความละเอียด ถ้าทิ้งไว้ให้แห้งก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม้ชนิดนี้จัดเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแกร่งเป็นอย่างมาก สามารถเจริญเติบโตในธรรมชาติได้เอง นอกจากเนื้อละเอียดและมีความแกร่งแล้ว จุดเด่นของไม้ชนิดนี้ก็คือ กลิ่นที่หอม หากเป็นต้นที่ “ตายพราย” คือยืนต้นตายเองตามธรรมชาติ แก่นไม้จะส่งกลิ่นหอมอย่างมาก เมื่อลมพัดโชยก็จะทำให้เราสามารถได้กลิ่นหอมอ่อน ๆ อย่างชัดเจน นอกจากจะรู้จักในชื่อจันทน์หอมแล้ว ไม้ชนิดนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อย่าง จันทน์ขาว, จันทน์ชะมด, จันทน์พม่า อีกด้วย
ไม้จันทน์หอมกับบทบาทความสำคัญในงานพระราชพิธี
ที่ผ่านมานั้นในประเทศไทยได้นำไม้จันทน์หอมมาประกอบในพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพอยู่หลายครั้ง จึงจัดว่าเป็น “ไม้มงคลชั้นสูง” ที่มีบทบาทและความสำคัญต่อประเทศไทยไม่น้อย และไม่ใช่ว่าจะเพิ่งนำมาใช้ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์นี้เท่านั้น หากสืบย้อนกลับไป หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกไว้ว่าได้มีการใช้พระราชพิธีพระบรมศพมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยโบราณนั้นไม้จันทน์หอมไม่เพียงแต่จะถูกนำมาใช้ในงานราชประเพณีอวมงคลเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้ในงานราชประเพณีมงคลอีกด้วย เรียกว่าที่ผ่านมาไม้มงคลชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ชั้นสูงมาโดยตลอด
ที่มาของการใช้ต้นจันทน์หอมในงานราชประเพณีต่าง ๆ นั้นก็มาจากประวัติเรื่องราวในสมัยพุทธกาล ที่มีบันทึกไว้ว่า มีการใช้ของหอม 4 อย่าง หรือ จตุชาติสุคนธ์ ทำการประพรมในพระราชพิธีถวายพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ อันเป็นพระราชพิธีมงคล และหนึ่งในจตุชาติสุคนธ์ก็มีจันทน์หอมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยนั่นเอง นี่จึงเป็นที่มาในการนำไม้มงคลชนิดนี้มาใช้ในงานราชประเพณีต่าง ๆ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ไม้จันทน์หอมตัวแทนแห่งคุณงามความดี
ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าจันทน์หอมมีการนำมาใช้ในงานราชประเพณีอันเป็นมงคลก่อน ส่วนที่มีการนำมาใช้ในราชประเพณีอวมงคลในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากในเรื่องของคุณสมบัติเฉพาะของไม้ชนิดนี้ ที่ไม่ว่าตัวต้นจะเป็นหรือตายไปก็ตาม แต่ความหอมก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมสลายหายไป คุณสมบัติเฉพาะในข้อนี้นั่นเองที่ทำให้คนในสมัยโบราณนำจันทน์หอมมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์เปรียบเปรย ชีวิตคนก็เปรียบได้กับลำต้น และความดีที่กระทำไว้ก็เปรียบเหมือนความหอมของต้นจันทน์หอม แม้สิ้นชีพไปแล้วแต่คุณงามความดีก็ยังคงอยู่ในใจของผู้คน เหมือนกลิ่นหอมที่ยังคงอยู่ไม่จางหายไป นั่นจึงเป็นที่มาของการนำมาใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
คุณค่าและความสำคัญของจันทน์หอมที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ


ในปัจจุบันไม้จันทน์หอมไม่เพียงแค่นำมาใช้ในพระราชพิธีเท่านั้น แต่ได้มีการนำมาใช้ในการทำหีบศพสำหรับการบรรจุสรีระสังขารของพระเถรานุเถระผู้มีชื่อเสียง อันเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนจำนวนมากด้วย เพราะศิษยานุศิษย์ต่างมีทัศนะว่า พระเถรานุเถระผู้จริยาวัตรงดงามและสูงส่งไปด้วยบุญบารมี เมื่อล่วงลับดับขันธ์ก็ควรจะบรรจุสรีระสังขารไว้ในหีบศพที่ทำจากไม้มงคลชั้นสูงด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับบุญบารมีและจะเป็นการดีต่อตนเองในแง่ของบุญกุศลที่ได้กระทำต่อสรีระสังขารของครูบาอาจารย์ด้วย จึงทำให้ในวันนี้ความต้องการหีบศพที่ทำจากไม้จันทน์หอมมีความต้องการมากขึ้น
แต่ทว่าด้วยเพราะจันทน์หอมเป็นไม้มงคลชั้นสูง ที่จะนำมาใช้ในงานราชประเพณีสำคัญเท่านั้น ไม่ใช่ไม้เศรษฐกิจจึงไม่ได้มีความนิยมในการปลูกโดยทั่วไป ทำให้ไม้ชนิดนี้มีน้อยและหายาก มีผู้ที่จำหน่ายหรือนำเข้าไม้ชนิดไม่มากนัก ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน นี่คือ เรื่องราวของไม้มงคลสูงค่าที่มีนามว่า “ไม้จันทน์หอม”
ไม้จันทน์หอม นำเข้าโดย Thaigoodwood
ร้านของเรามีการนำเข้าไม้จันทน์หอมแปรรูปมาจำหน่าย โดยมีรายละเอียดขนาดดังนี้